พิชิตทุกความท้าทายในกรุงเทพ กับบริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพ

แชร์บทความ

บริษัทรับสร้างบ้าน

การใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร ถือเป็นหนึ่งในความฝันของใครหลายคนเลยก็ว่าได้ เนื่องจาก พื้นที่ในเมืองหลวงของประเทศไทยเต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบคมนาคม สภาพแวดล้อม และแหล่งงานคุณภาพ ทำให้หลายคนต่างหลั่งไหลเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองกรุง และวางแผนตั้งถิ่นฐานกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การสร้างบ้านในกรุงเทพมหานคร ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสักทีเดียว เพราะเจ้าของบ้านก็มีเรื่องต้องพิจารณามากมาย ในบทความนี้ Royal House บริษัทรับสร้างบ้านที่เข้าใจทุกคน จะมาแชร์สิ่งที่ท้าทาย ในการสร้างบ้านทำเลเมืองหลวง ให้กลายเป็นบ้านที่เข้าอยู่ได้จริง พร้อมกับแนะนำเอกสารสำคัญที่ต้องเตรียม ก่อนดำเนินการสร้างบ้าน หากพร้อมแล้ว เราไปดูกัน

มัดรวม ความท้าทายในกรุงเทพ ก่อนดำเนินการสร้างบ้านในฝัน

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกสารทิศ ให้ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ และลงหลักปักฐานไปถึงช่วงเกษียณ เพราะกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่หน้าที่การงานเติบโต และเอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น วัยรุ่น วัยทำงาน หรือแม้แต่วัยชรา

ทั้งนี้ การสร้างบ้านในเมืองใหญ่ ก็ใช่ว่าจะง่ายอย่างที่ฝัน เพราะเจ้าของบ้านจำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ตั้งแต่การเลือกทำเล การคำนวณงบประมาณในการสร้างบ้าน ไปจนถึงการพิจารณาว่า พื้นที่ดินที่เลือกนั้น ได้รับผลกระทบทางธรรมชาติมากน้อยแค่ไหน สำหรับใครที่กำลังวางแผนสร้างบ้านในกรุงเทพมหานคร Royal House ได้รวบรวมปัจจัยที่ควรพิจารณาไว้ให้แล้ว ดังนี้

1. สำรวจผังเมือง

ความท้าทายอันดับแรก ของการสร้างบ้านในกรุงเทพมหานคร คือ การเลือกทำเลที่เหมาะสม ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องการใช้ชีวิต และแนวโน้มการเติบโตของทำเลในอนาคต เนื่องจาก กรุงเทพมหานครมีความเจริญกระจัดกระจายกันไป ซึ่งแต่ละทำเลก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • โซนใจกลางเมือง: เช่น สยาม สุขุมวิท สีลม และสาทร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกในการเดินทาง และรายล้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทันสมัย ทั้งยังตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน ไว้ลงทุนในอนาคต
  • โซนชานเมือง: ได้แก่ บางนา รามอินทรา และรังสิต เป็นทำเลที่มีความสงบ และพื้นที่กว้างขวาง เหมาะกับครอบครัวที่ต้องการความเป็นส่วนตัว และพิจารณาแล้วว่าทำเลต่าง ๆ มีโอกาสเติบโตยิ่งขึ้น 

ดังนั้น เจ้าของบ้านควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่า การใช้ชีวิตโดยทั่วไปอยู่ในพื้นที่ไหน รวมถึงสำรวจว่าพื้นที่ที่สนใจผังเมืองเป็นอย่างไร เข้า หรือออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ สะดวกไหม และมีแนวโน้มที่จะเกิดอุทกภัยได้ง่ายหรือไม่ เพื่อให้บ้านที่สร้างออกมา คุ้มค่ากับราคาที่เสียไปมากที่สุด

2. ทิศทางแดด ทิศทางลม

เนื่องจาก ภายในกรุงเทพมหานครเต็มไปด้วยตึกสูง และอาคารพาณิชย์มากมาย ซึ่งมีจำนวนมากกว่าพื้นที่สีเขียว ดังนั้น เจ้าของบ้านควรทำการปรึกษากับบริษัทสร้างบ้าน ว่าควรวางแปลนบ้านไว้ในทิศไหน ถึงจะเย็นสบายตลอดทั้งวัน แม้ว่าบริเวณรอบตัวบ้านจะมีจำนวนต้นไม้น้อย และถูกบดบังด้วยตึกสูงจำนวนมาก

โดยบริษัทรับสร้างบ้านที่ดี จะเข้ามาช่วยพิจารณาแปลนบ้านที่เหมาะสม จากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้แก่ แสงแดด และทิศทางลม เพื่อจัดวางตำแหน่งห้องได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การวางแปลนบ้านในทิศตะวันออก ไปทางทิศใต้ และสิ้นสุดที่ทิศตะวันตก พร้อมกับหันด้านยาวของตัวบ้านเข้าหาลม เพื่อเพิ่มพื้นที่การรับลมเข้าตัวบ้าน รวมถึงระบายความร้อน และลดปัญหาความชื้นสะสม

3. ค่าครองชีพ

อย่างที่ทราบกันดีว่า ในแต่ละทำเลนั้นมีมูลค่า และค่าครองชีพต่างกันออกไป ดังนั้น เจ้าของบ้านควรประเมินค่าครองชีพในทำเลที่สนใจ ผ่านการคำนวณค่าใช้จ่ายคร่าว ๆ ในพื้นที่นั้น เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง และค่าสาธารณูปโภค เพื่อให้แน่ใจว่าทำเลที่ต้องการสร้างบ้าน เหมาะสมกับงบประมาณ และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต

4. สภาพแวดล้อม และชุมชน

สภาพแวดล้อมของทำเลที่ต้องการอาศัย มีผลต่อความสุข และความพึงพอใจในการอยู่อาศัย ทั้งยังช่วยให้สมาชิกในบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยแนะนำให้สำรวจตั้งแต่ความปลอดภัยในละแวกใกล้เคียง ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด เพื่อนบ้านโดยรอบ รวมถึงสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

5. สิ่งอำนวยความสะดวกใกล้เคียง

สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสะดวกสบาย และคุณภาพชีวิต ดังนั้น เจ้าของบ้านต้องสำรวจให้ดีก่อนว่า โซนที่ต้องการสร้างบ้านมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้าง เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด โรงเรียน โรงพยาบาล และแหล่งความบันเทิงที่ชื่นชอบ เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันง่าย และสนุกยิ่งขึ้น

6. การเดินทางในชีวิตประจำวัน

สิ่งสุดท้ายที่เป็นความท้าทาย ในการใช้ชีวิตประจำวัน คงจะหนีไม่พ้นการเดินทาง เพราะกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อว่ารถติดตลอดเวลา ไม่เว้นแม้แต่วันหยุดสุดสัปดาห์ ดังนั้น เจ้าของบ้านควรพิจารณาว่า ในแต่ละวันเดินทางด้วยยานพาหนะอะไรเป็นหลัก รวมถึงจุดหมายที่ไปคือที่ไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อย หรือต้องไปทำงานในใจกลางเมือง การสร้างบ้านที่อยู่ใกล้กับทางด่วน หรือถนนสายหลัก เช่น ถนนสุขุมวิท และถนนพหลโยธิน ก็จะช่วยให้เจ้าของบ้าน และสมาชิกคนอื่น ๆ ใช้ชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของบ้านมือใหม่ กำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านครบวงจร Royal House ก็เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะเต็มไปด้วยประสบการณ์การสร้างบ้านในกรุงเทพ มาแล้วหลายทำเล ทั้งยังมีแบบบ้านให้เลือกหลากหลายสไตล์ และสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ หากสนใจสามารถติดต่อเราได้ที่ Line: @royalhouse

บริษัทรับสร้างบ้านชวนรู้ ! สร้างบ้านในกรุงเทพ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อได้ทำเลที่ถูกใจแล้ว ก่อนเริ่มดำเนินการสร้างบ้าน เจ้าของบ้านจำเป็นต้องทำการขออนุญาตก่อสร้างทุกครั้ง ตั้งแต่การถมที่ดิน ไปจนถึงการตกแต่งภายในบ้าน เพื่อประเมินว่าบ้านที่จะสร้างมีความแข็งแรง และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยโดยรอบ โดยเอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาตก่อสร้าง มีดังนี้

  • สำเนาบัตรประชาชน

เอกสารสำคัญอันดับแรกที่ควรเตรียม คือ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้อนุญาตก่อสร้าง ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตก่อสร้างด้วยตนเอง หรือบริษัทรับสร้างบ้านเป็นผู้ดำเนินการให้ ควรแนบหนังสือมอบอำนาจ ในการยื่นขออนุญาตก่อสร้างด้วย 

  • เอกสารแสดงสิทธิของที่ดินที่จะก่อสร้าง

สำหรับเอกสารแสดงสิทธิของที่ดิน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโฉนดที่ดิน แต่หากไม่มีโฉนดที่ดิน ควรใช้เป็นเอกสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของที่ดินผืนนั้น ๆ หรือในกรณีที่เช่าที่ดิน ควรใช้สำเนาทะเบียนบ้านผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมด้วย เพื่อให้การก่อสร้างบ้าน ดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

  • เอกสารแปลนบ้าน

นอกเหนือจากโฉนดที่ดิน และสำเนาบัตรประชาชนแล้ว ในการขอดำเนินการสร้างบ้านนั้น ควรมีเอกสารแปลนบ้านที่มีรายละเอียด เกี่ยวกับผังบริเวณโดยรวมของบ้าน ทั้งงานสถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรม รวมถึงมีการแสดงรายละเอียดของแต่ละชั้นในทุก ๆ ด้าน

  • เอกสารเกี่ยวกับโครงสร้างบ้าน

เอกสารที่แสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างบ้าน จะขึ้นอยู่กับขนาด และรูปแบบของบ้านที่สร้าง เพื่อยืนยันว่าบ้านที่กำลังจะสร้าง ผ่านการออกแบบโดยวิศวกร ทำให้มั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยหลังสร้างเสร็จ

  • เอกสารที่แสดงถึงการเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

ในส่วนของทางบริษัทรับสร้างบ้าน จะต้องใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ในการยื่นดำเนินการสร้างบ้าน เพื่อเป็นหลักประกันให้เจ้าของบ้าน และทางการมั่นใจได้ว่า กระบวนการสร้างที่จะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอน ผ่านการรับรองโดยวิศวกรที่มีใบประกอบวิชาชีพ

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับปัจจัยที่ควรรู้ก่อนสร้างบ้านในกรุงเทพมหานคร โดยจะเห็นได้ว่าแต่ละปัจจัย ที่นำมาบอกในบทความนี้นั้น เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านควรพิจารณาอย่างยิ่ง เพื่อให้การอยู่อาศัยเต็มไปด้วยความสุข และเข้ากับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในทุกด้าน

สำหรับใครที่อยากได้เพื่อนคู่คิด และผู้ช่วยในการดำเนินการเรื่องเอกสาร บริษัทรับสร้างบ้าน Royal House พร้อมเข้ามาช่วยคุณตั้งแต่การให้คำแนะนำเรื่องทำเล แบบบ้านที่มีคุณภาพ ตรงความต้องการ และตอบโจทย์การใช้งาน ไปจนถึงการรับประกันโครงสร้างบ้าน หากต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ที่ Line: @royalhouse

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอม ให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า